ผลจากการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 9 ณ เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ได้กำหนดให้จัดทำข้อตกลงยอมรับร่วมกัน (Mutual Recognition Arrangements : MRAs) ด้านคุณสมบัติในสาขาวิชาชีพหลัก เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายนักวิชาชีพ หรือแรงงานเชี่ยวชาญ หรือผู้มีความสามารถพิเศษของอาเซียนได้อย่างเสรี ด้านคุณสมบัติในสาขาอาชีพหลัก เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้าย นักวิชาชีพ แรงงานเชี่ยวชาญ หรือผู้มีความสามารถพิเศษได้อย่างเสรีข้อตกลงเรื่องการเคลื่อนย้ายแรงงาน ฝีมือไปทำงานในประเทศกลุ่มอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ได้อย่างเสรี ได้กำหนดครอบคลุม 7 อาชีพ และก็มีข่าวว่าอาจจะมีการเพิ่มจำนวนอาชีพขึ้นมาอีกในลำดับถัดไป สำหรับ 7 อาชีพที่มีข้อตกลงกันแล้วให้สามารถเคลื่อนย้ายไปทำงานได้อย่างเสรี ได้แก่
- อาชีพวิศวกร( Engineering
Services)
- อาชีพพยาบาล (Nursing
Services)
- อาชีพสถาปนิก(Architectural
Services)
- อาชีพการสำรวจ (Surveying
Qualifications)
- อาชีพนักบัญชี (Accountancy
Services)
- อาชีพทันตแพทย์ (Dental
Practitioners)
- อาชีพแพทย์ (Medical
Practitioners)
และการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือเสรีในกลุ่ม 7 อาชีพนั้น มีผลดีต่อไทยไม่น้อย
เพราะในภาพรวม
สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในไทยมีศักยภาพในด้านการผลิตบุคลากรในสาย วิชาชีพทั้ง 7 ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง
ซึ่งทำให้ผู้จบการศึกษาในสายวิชาชีพทั้ง 7 ตั้งแต่ระดับปริญญาตรีจนถึงปริญญาเอกมีตลาดงานที่เปิดกว้างมากขึ้นจากเดิมที่ตลาดมีแค่การให้บริการประชาชน 63 ล้านคน เป็นตลาดของประชาชนร่วม 600 ล้านคนใน 10 ประเทศอาเซียน นอกจากนั้น
ประเทศเหล่านี้รวมทั้งไทยอยู่ในทิศทางที่กำลังเติบโตทางด้านเศรษฐกิจทั้ง สิ้น
เร็วบ้าง ช้าบ้าง และโดยภาพรวมคุณภาพของผู้จบวิชาชีพทั้ง 7 ในไทยก็สูงอยู่ในระดับแถวหน้าของประเทศอาเซียน ทำให้โอกาสในการหางานมีสูง ในขณะที่คนไทยสามารถไปทำงานในประเทศอาเซียนได้อย่างเสรีนั้น
สภาวิชาชีพ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลมาตรฐานของอาชีพทั้ง 7 นั้นคงต้องมีการดำเนินการอย่างเข้มแข็งรัดกุมเป็นอย่างมาก
เพื่อรักษามาตรฐานของผู้จบวิชาชีพในสาขาอาชีพนั้นๆ ในไทยให้คงเดิม
หรือยกระดับให้สูงขึ้นไปอีก
ป้องกันมิให้เกิดการอ่อนด้อยในเรื่องมาตรฐานขององค์กรในการผลิตคน
บางแห่งที่อาจใช้โอกาสนี้เพิ่มรายได้ในการเร่งผลิตคนในวิชาชีพเหล่านั้น
จำนวนมากเพื่อตอบสนองตลาดที่ใหญ่ขึ้น มิฉะนั้นอาจส่งผลกระทบทางลบโดยรวม
อีกปัญหาที่อาจะตามมาอีกอย่างคือ
บางวิชาชีพไทยเริ่มจะเข้าสู่วิกฤตการขาดแคลนอาจารย์ เช่น ทันตแพทย์
ถ้าแก้ปัญหาไม่ทันท่วงทีในเวลาอีกสามถึงห้าปีข้างหน้า
ไทยจะมีปัญหาเรื่องการสร้างบุคลากรรุ่นใหม่ในสายวิชาชีพทันตแพทย์อย่างแน่ นอน
ขณะเดียวกัน ก็ต้องระวังดูแลในเรื่องมาตรฐานของคนจากประเทศต่างๆ
ในอาเซียนที่เข้ามาประกอบอาชีพทั้ง 7 อาชีพในไทยด้วยเช่นกัน
เพราะอาจจะมีผู้มาจากประเทศอื่นที่มาประกอบอาชีพในไทยมีปัญหาความอ่อนด้อยใน
เรื่องมาตรฐาน ซึ่งถ้าดูแลไม่รอบคอบรัดกุม อาจก่อเกิดผลกระทบกับสังคมไทยในทางลบ
และอาจส่งผลต่อปัญหาการประกอบอาชีพของคนไทยเอง
แต่อย่างไรก็ตาม
ในภาพรวม สังคมไทยกำลังเข้าสู่ภาวะสังคมผู้สูงอายุ
จำนวนคนในวัยทำงานกำลังลดลงอย่างมีนัยสำคัญ มีข้อมูลว่าอีกประมาณสิบปีข้างหน้า
สัดส่วนคนในวัยทำงานจะต่ำกว่าประชากรผู้สูงอายุมาก นี่จะทำให้เกิดการขาดแคลนแรงงาน
โดยเฉพาะแรงงานฝีมือในกลุ่มอาชีพทั้ง 7 นั้น ผู้ที่จบจากสายวิชาชีพดังกล่าวจะประกันได้ว่าไม่น่าจะมีใครที่ตกงาน
เพราะมีตลาดใหญ่มากรองรับทั้งในไทย และในประเทศอาเซียน
ข้อตกลง
เคลื่อนย้ายแรงงานเสรีในกลุ่มประเทศอาเซียนทั้ง 7 อาชีพในปี
2015 (2558) แม้จะเป็นโอกาสทองของคนไทยในสายวิชาชีพดังกล่าว
แต่ก็มีจุดที่ต้องระวังอยู่ไม่น้อยเช่นกัน ทั้งในด้านการที่คนของเราไปทำงานบ้านเขา
และการที่คนบ้านเขามาทำงานในบ้านเรา เพราะถ้าการระวังไม่รัดกุม
โอกาสทองนั้นอาจพลิกเป็นวิกฤต และมีผลกระทบรุนแรงต่อบางสายวิชาชีพได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น