จากการศึกษาของโฮเวิร์ด
การ์ดเนอร์ (Howard Gardner) ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาการศึกษาชื่อดังชาวเมริกันแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
ผู้คิดค้นทฤษฏี Multiple Intelligences หรือทฤษฏีพหุปัญญาขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2526 ซึ่งเป็นทฤษฏีที่เน้นความสามารถที่หลากหลายของมนุษย์
พบว่าความสามารถของคนเรานั้นแบ่งได้ 9 ด้าน ได้แก่
1. Linguistic Ability : ความสามารถด้านภาษา เด็กที่มีความสามารถด้านนี้จะเรียนรู้และเข้าใจคำพูดต่างๆ ได้เร็วเกินวัยสามารถใช้คำได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การเขียน การพูดจูงใจ โน้มนาว การอธิบาย เล่านิทาน โต้เถียง การให้เหตุผล การเขียนสรุป ชอบคิดชอบเขียน มีความจำดี เด็กที่มีแววด้านนี้โตขึ้นอาจเป็นนักเรียน นักประพันธ์ หรือนักการเมือง เป็นต้น
2. Logical
Mathematical Ability : ความสามารถด้านตรรกวิทยาและคณิตศาสตร์
เป็นด้านที่เด็กมีความถนัดทางคณิตศาสตร์ มีความเข้าใจในเรื่องตัวเลขได้เร็ว
ใช้เงินเป็นและเร็วกว่าเด็กในวันเดียวกันสามารถคิดแก้ปัญหาเกี่ยวกับตัวเลข
การทดลอง การสังเคราะห์ความคิด สำรวจ การคำนวณ เรียงลำดับเวลาหรือเหตุการณ์
การใช้เหตุผล การตั้งสมมติฐาน เด็กที่มีแนวด้านนี้โตขึ้นอาจเป็นนักคณิตศาสตร์นักวิทยาศาสตร์เป็นต้น
3. Musical Ability : ความสามารถด้านดนตรี เด็กจะมีความถนัดหรือเก่งในเรื่องของ ดนตรี ชอบฟังเพลง ร้องเพลง จำเนื้อเพลง และตอบสนองกับจังหวะดนตรีได้เร็ว จะ เต้นตามเมื่อได้ยินดนตรีจังหวะสนุกๆ ชอบของเล่นที่เป็นเครื่องดนตรีเป็นพิเศษ เมื่อเรียนดนตรีจะสามารถพัฒนาไปได้เร็วมาก เด็กที่มีแววด้านนี้โตขึ้นอาจเป็นนักดนตรี นักร้อง นักแต่งเพลง เป็นต้น
4. Spatial Ability: ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์
มีความสามารถในการมองเห็นภาพ รวม เรียนรู้เมื่อวาดรูป
ระบายสี การลอกลาย การเขียนแผนที่ เข้าใจ และมองโลกได้ อย่างถูกต้อง เด็กที่มีแววด้านนี้โตขึ้นอาจเป็นวิศวกร สถาปนิก จิตรกร เป็นต้น
5. Bodily-Kinesthetic: ความสามารถด้านกีฬาและการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย
จะมีพฤติกรรมไม่อยู่นิ่ง มีความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อได้ดี เช่น กระโดดขาเดียว
เดินทรงตัวบนเส้นตรงได้ดี จะรู้สึกสนุกสนานและมีความสุขเมื่อได้ออกกำลัง เต้นรำ
หรือการแสดงออกต่างๆ เด็กที่มีแนวด้านนี้โตขึ้นอาจเป็นนักกีฬา เป็นต้น
6. Interpersonal Ability: ความสามารถด้านมนุษยสัมพันธ์
จะเป็นเด็กที่ชอบบริการคนอื่นๆ ช่างเอาอกเอาใจ ชอบช่วยเหลือเพื่อน พูดจาไพเราะ
อ่อนหวานน่ารัก มีความกล้าที่จะพูดคุยกับผู้คน ชอบพบปะผู้คนหลากหลาย ชอบเข้าสังคม
ไม่กลัวคนแปลกหน้า ชอบสังเกตเห็นความแตกต่างระหว่างบุคคล เด็กที่มีแววด้านนี้โตขึ้นอาจเป็นนักพูด นักประชาสัมพันธ์
ผู้นำการเมือง พนักงานขาย เป็นต้น
7. Intrapersonal Ability: ความสามารถด้านจิตวิเคราะห์
ชอบเรียนรู้ค้นคว้าวิจัย เขียนบันทึกประจำวัน สามารถแก้ปัญหาได้ด้วยตนเอง
หาคำตอบให้กับตัวเองได้ เข้าใจความรู้สึกของตนเอง เด็กที่มีแววด้านนี้โตขึ้นอาจเป็นนักจิตวิทยา ผู้นำศาสนา เป็นต้น
8. Naturalist Ability: ความสามารถด้านธรรมชาติศึกษา
ชอบเรียนรู้สิ่งแวดล้อมทั้งคนและธรรมชาติ ชอบสังเกตความแตกต่าง เปรียบเทียบ
ชอบปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ เด็กที่มีแววนี้โตขึ้นอาจเป็นนักชีววิทยา นักสิ่งแวดล้อม
นักธรณีวิทยา เป็นต้น
9. Creative
Ability หรือ Imagination Ability: คือความสามารถในการคิดพลิกแพลงแตกต่างในการแก้ปัญหา
หรือการคิดใจสิ่งแปลกๆ ใหม่ๆ ออกจากแนวเดิมๆ ที่เราเคยมี เช่น การคิดแปรรูปสินค้า
การออกแบบลวดลายผ้า ประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ เช่น คอมพิวเตอร์ เครื่องบิน โทรศัพท์ ฯลฯ
สิ่งเหล่านี้จะเพิ่มมูลค่าของสินค้ามากขึ้น เด็กในแนวนี้มักจะเป็นเจ้าของกิจการ สถาปนิก ดีไซเนอร์ ฯลฯ
ดังนั้น
การค้นหาความถนัดของเด็กเป็นเรื่องสำคัญ
พ่อแม่จึงควรสังเกตลูกอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ลูกยังเล็กว่ามีความถนัดด้านใด
เพื่อจะได้ส่งเสริมได้อย่างถูกทาง ทั้งนี้
เด็กไม่จำเป็นต้องเก่งในทางวิชาการเพียงอย่างเดียว
แต่อาจมีความสามารถด้านอื่นที่โดดเด่นกว่า
ซึ่งนั่นเป็นสัญญาณที่ดีที่พ่อแม่จะได้กระตุ้นส่งเสริมได้อย่างถูกทาง
ตรงตามความถนัดของตัวเด็กเอง ซึ่งจะทำให้เด็กเติบโตอย่างเป็นสุข
ได้เป็นในสิ่งที่เขาอยากเป็น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น