เปรียบเทียบระหว่างการเรียนสายสามัญกับการเรียนสายอาชีพ
ถ้าเปรียบเทียบหลักสูตรและจุดเด่นระหว่างสายสามัญและสายอาชีพ
จะเห็นได้ว่าสายสามัญและสายอาชีพมีความแตกต่างกันอยู่หลายอย่าง การเรียนสายสามัญ
คือ การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานตามกระทรวงศึกษาธิการกำหนด
โดยให้ความสำคัญกับการจัดการเรียนการสอน 8
กลุ่มสาระ และสาระเพิ่มเติม เช่น กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
กิจกรรมแนะแนว เป็นต้น โดยการจัดการศึกษาสายสามัญ
แบ่งออกเป็น
ระดับประถมศึกษาตอนต้น
ระดับประถมศึกษาตอนปลาย
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถทุกด้าน
ตามลำดับขั้นและหลักสูตรของสถานศึกษา และหลักสูตรของกระทรวงศึกษากำหนดไว้
ว่าแต่ละระดับควรพัฒนาด้านใดบ้าง และเพิ่มเติมความรู้ ความสามารถในด้านใด
สำหรับสายสามัญในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจะมีการแบ่งชั้นเรียน
เป็น
-สายวิทย์คณิต
บางโรงเรียนก็จะมี วิทย์ปิโตรเลียม,วิทย์แพทย์,วิทย์-สถาปัตย,วิทย์ทั่วไป
-สายศิลป์คำนวณ
-สายศิลป์ภาษา
เช่น อังกฤษจีน, อังกฤษฝรั่งเศส,อังกฤษเยอรมัน,
อังกฤษญี่ปุ่น,อังกฤษสเปน
-สายศิลป์-ทั่วไป
สำหรับแบ่งผู้เรียน
เพื่อนำไปเป็นเกณฑ์คัดเลือกนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาต่อไป
เนื่องจากในบางสาขาวิชาของมหาวิทยาลัยมีการกำหนดไว้ชัดเจนว่าให้สายการศึกษา
สายใดเข้าศึกษาได้แต่สายอาชีพจะเป็นการศึกษาเฉพาะทางโดยเน้นให้ผู้เรียนที่จบการศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประกอบอาชีพ
หรือสมัครงานตามสาขานั้น ๆ ได้ ซึ่งถือว่าผู้ที่เรียนจบสาขาวิชานั้น ๆ
เป็นผู้มีความรู้พื้นฐานสำหรับประกอบอาชีพนั้น ๆ ได้ เช่น
หลักสูตร ปวช. คือ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ เป็นระดับการฝึกวิชาชีพระดับพื้นฐานในงานสายอาชีพนั้น ๆ
ซึ่งมีรู้สามารถนำไปประกอบอาชีพได้ตามความรู้ที่เรียน
หลักสูตร ปวส. คือ หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงเป็นระดับความรู้ที่สูงขึ้นจาก
ปวช. โดยเน้นความรู้เฉพาะมากขึ้นมีความรู้ความชำนาญพิเศษมากขึ้น
สำหรับหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพและหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพขั้นสูงแบ่งการเรียนเป็นสาขา
ดังนี้
– สาขาวิชาอุตสาหกรรม
– สาขาวิชาพาณิชยกรรม/บริหารธุรกิจ
– สาขาวิชาศิลปกรรม
– สาขาวิชาประมง
– สาขาวิขาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
– สาขาวิชาอุตสาหกรรมสิ่งทอ
– สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
การศึกษาระดับสายอาชีพสามารถศึกษาต่อได้ถึงระดับสูงสุดเท่ากับการศึกษาสายสามัญ
คือ ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก
ซึ่งเป็นการพัฒนาการศึกษาตามลำดับขั้นสำหรับผู้สนใจศึกษาต่อระดับสูงขึ้นไปเพื่อยกระดับความรู้ความสามารถ
นักเรียนที่เรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
สามารถเลือกเรียนได้ทั้งสายสามัญและสายอาชีพปัจจัยที่ทำให้นักเรียนเลือกเรียนระหว่างสายสามัญและสายอาชีพ
คือ
1.ด้านสถานภาพส่วนตัวของนักเรียน ขนาดของครอบครัว
การศึกษาสูงสุดของคนในครอบครัวและจำนวนพี่น้องร่วมบิดามารดา
2.ด้านสถานภาพทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของครอบครัว มีตัวแปรที่สำคัญคือ
รายได้ของครอบครัว ระดับการศึกษาของบิดามารดาและปัญหาเรื่องค่าใช้จ่าย
3.ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
นักเรียนสายสามัญเมื่อเรียนจบส่วนใหญ่ก็คิดที่อยากเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาทั้งนั้นแต่นักเรียนสาอาชีพบางคนก็อยากเรียนต่อ
ปวส.แต่บางคนก็อาจจะอยากเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา
จากการศึกษาความคาดหวังและโอกาสทางการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา พบว่า
ผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายและได้ต่อระดับอุดมศึกษามีร้อยละ 85.4
เพศหญิงได้ศึกษาต่อมากกว่าเพศชายเล็กน้อย
หลักสูตรสายสามัญได้ศึกษาต่อมากกว่าสายอาชีพ แผนการเรียนในหลักสูตรสายสามัญ
แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ ได้ศึกษาต่อมากที่สุด รองลงมาคือ แผนการเรียนศิลป์-ภาษา
ศิลป์-คำนวณและแผนการเรียนทั่วไป
ส่วนประเภทวิชาในหลักสูตรสายอาชีพ
ประเภทวิชาพาณิชย-กรรม/บริหารธุรกิจ ได้ศึกษาต่อมากที่สุด
รองลงมาคือประเภทวิชาช่างอุตสาหกรรม
ศิลปหัตถกรรม/ศิลปกรรมและคหกรรม/คหกรรมศาสตร์ ผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรสายสามัญจะได้ศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาสังกัดทบวงมหาวิยาลัยเป็นส่วนใหญ่และผู้สำเร็จการศึกษาสายอาชีพจะได้ศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นส่วนใหญ่
นอกจากนี้ผู้สำเร็จการศึกษาส่วนมากจะได้ศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาในภูมิภาคหรือที่ตั้งสถานศึกษาของตน
ในการศึกษาแต่ละประเภทต่างก็มีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันไป
การเรียนสายสามัญ
ข้อดีของการเรียนสามัญ
1. ความรู้พื้นฐานทั่วไป
จะได้มากกว่าสายอาชีพ
2. เลือกเรียนในมหาวิทยาลัยได้ทั้งประเทศ
ไม่ว่าจะเอกชนหรือรัฐ
3. มีโอกาสเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยน
ต่างประเทศหรือกิจกรรมอื่นๆได้มากกว่า (อยู่ที่ตัวเองและการสนับสนุนของโรงเรียน)
4. สังคมแวดวงเพื่อน
จะดีกว่า สายอาชีพ (โดยส่วนใหญ่นะ)
ข้อเสียของการเรียนสายสามัญ
1. ความรู้เฉพาะด้านอาจไม่แน่นเท่าสายอาชีพ
(ในบางกรณี)
2. จบ
ม.6 ถ้าไม่ต่อ ปริญญาตรี จะไม่มีความหมายเลย***เน้นๆ
3.สายสามัญส่วนใหญ่จะไม่เจอวิชาชีวิต(ประสบการณ์ต่างๆ การเอาตัวรอด
พบเจออะไรแย่ๆ)
เท่าสายอาชีพ(โดยส่วนใหญ่)
การเรียนสายอาชีพ
ข้อดีของการเรียนสายอาชีพ
1. ความรู้เฉพาะด้านแน่น
ถ้าคนที่เลือกเรียนต่อในสาขาที่เรียนมา จะได้เปรียบกว่าสายสามัญ
เมื่อเข้าไปเรียนในมหาลัย
2. ถ้าไม่เรียนต่อ
ก็ไม่เป็นไร สามารถทำงานได้เลย แถมยังไปสอบราชการก็ได้อีกด้วย
ข้อเสียการเรียนสายอาชีพ
1.มีข้อจำกัดในการต่อมหาลัย
เพราะมหาลัยรัฐหลายที่หลายคณะที่เขาไม่รับเด็กสายอาชีพ
ถ้าเป็นเอกชนก็แล้วไป
2. สังคมสายอาชีพไม่ค่อยดี
เด็กเกเร เสียส่วนใหญ่ (ไม่ได้เป็นเด็กเกเรทุกคน)
สายอาชีพ จบออกมาแล้วได้งานทำไม่ตกงานแน่นอน (สายอาชีพส่วนใหญ่เด็กดีก็เยอะน่ะครับ....)
ตอบลบสายอาชีพ จบออกมาแล้วได้งานทำไม่ตกงานแน่นอน (สายอาชีพส่วนใหญ่เด็กดีก็เยอะน่ะครับ....)
ตอบลบมีเเต่คนมองสายอาชีพเปนเด็กไม่ดีทั้งนั้น เสียไจคั้บ
ตอบลบ